บนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน บริษัทใหญ่ปรับตัวกันอย่างไร อ่านได้ที่นี่
เป็นที่รู้กันในหมู่นักธุรกิจนักการตลาดว่า ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องปรับตัวอยู่เสมอ โดยการเรียนรู้ผู้บริโภค เพื่อจะได้จัดกระบวนท่าทางการตลาดให้สอดคล้อง ยิ่งไปกว่านั้นต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ไม่ติดกรอบหรือวนเวียนอยู่กับสิ่งเดิมๆ แนวคิดเดิมๆ
หลักการนี้เป็นสิ่งสากล ถึงวิถีของโลกจะเปลี่ยนไปแต่หลักการยังคงอยู่ และไม่ใช่แค่บริษัทเล็กๆ แต่ยักษ์ใหญ่ทั่วโลกก็ต่างยึดถือ แล้ววันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ปรับตัวกันอย่างไร อะไรคือแนวทางที่ธุรกิจต่างๆ บนโลกต้องเรียนรู้บ้าง ติดตามได้ที่นี่
01 New Growth Engine
การปรับตัวขององค์กรธุรกิจแบบพลิกขั้ว คือทำอย่างไรจะขับเคลื่อนแผนธุรกิจปีหน้าและปีต่อๆ ไป ใช้ทรัพยากรเพียงแค่ 50% ของสิ่งที่มีอยู่เพื่อหล่อเลี้ยงการคงอยู่ของฐานธุรกิจเดิม ในขณะที่วาระสำคัญขององค์กร คือการ Shift ทรัพยากรที่มี ทั้งในเรื่องของคนและงบประมาณไปกับการสร้างฐานธุรกิจใหม่ที่จะเป็นอนาคต เพื่อสอดคล้องกับทิศทางการแข่งขันที่กำลังจะเปลี่ยนไป
M&A, Intrapreneur spin-off, Restructuring
เป็นสิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ นำมาใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อขับเคลื่อน New Growth Engine การทำ M&A เพื่อซื้อและควบรวมกิจการอยู่ในอัตราเร่งตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั่วโลก กลุ่ม Retail ดั้งเดิมเข้าซื้อกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce และ Logistics ส่วนกลุ่มธนาคารและอุตสาหกรรมหลัก เช่น Energy, Manufacturing, Healthcare พุ่งเป้าการลงทุนไปที่ธุรกิจ SaaS เพื่อนำ Digital Technology มาหลอมรวมกับ Business Portfolio เดิมเพื่อทำให้เกิดธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่ การสร้าง Intrapreneur หรือผู้ประกอบการในองค์กรก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่องค์กรใช้ในการสนับสนุน Talents และลดความเสี่ยงด้วยการทดลองสร้างธุรกิจใหม่ภายใต้ชายคาของธุรกิจเดิม ส่วน Restructuring ก็ถือว่าเป็นแกนหลักในการวางแผนอนาคตโดยคำถามเชิงกลยุทธ์ที่ผู้บริหารองค์กรกำลังหาคำตอบก็คือ
ภายใต้ความปกติใหม่ของเศรษฐกิจโลก 1) อะไรจะเป็น End Game ของโมเดลธุรกิจองค์กร 2) จะวางเป้าหมาย ของ Business Portfolio ใหม่และ Resources Allocation อย่างไรให้ Deliver short-term และ Manage long-term ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) การตัดสินใจที่จะ Invest หรือ Divest อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับคำถามที่ 1 และ 2
02 Data-driven Culture
การนำพาองค์กรไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานที่มีความเป็น “Scientific” มากกว่าการตัดสินใจแบบเดิม กำลังเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ FAMGA – Facebook, Amazon, Microsoft, Google, Apple เพิ่มตำแหน่งงานของพนักงานในสายงานด้าน Data บริษัทละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตำแหน่งต่อปี อีกทั้งเข้าลงทุนใน Data Science Startup ที่โดดเด่นอีกหลายบริษัท เช่น Dataiku และ Data Robot ทำให้สตาร์ทอัพกลุ่มนี้กลายเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ที่น่าจับตามอง บริษัทวิจัยชั้นนำคาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า กว่า 20% ของตำแหน่งงานภายในองค์กรขนาดใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ Data และ Data Science จะกลายเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงนโยบาย
หัวใจสำคัญของการสร้างวิสัยทัศน์แบบ Data Driven องค์กรต้องมีการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เป็น Real-Time เพื่อสร้าง Model การใช้ข้อมูลใหม่ๆ แบบ Dynamic มีการวิเคราะห์และวิจัยสิ่งใหม่โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวแปรสำคัญ นอกเหนือจากประเด็นเรื่อง Technical แล้ว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ก็เป็นเรื่องสำคัญ แนวทางการทำงานต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบ Data Talk/ Data Decide โจทย์สำคัญคือต้องไม่ทำให้ทีมงาน Data Scientists ทำงานแบบโดดเดี่ยว หลายองค์กรนำเอาทีมงาน Data Scientists เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Business Unit เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกัน วาระสำคัญที่ผู้บริหารองค์กรต้องทำควบคู่ไปกับการผลักดันให้เกิดการทำงานแบบ Data First คือการให้ความรู้กับคนในองค์กรเรื่องความสำคัญของข้อมูลและการใช้ Metrics ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึง เข้าใจและมีส่วนร่วมได้โดยสามารถเชื่อมโยงกับขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
03 Chief Growth Officer
องค์กรระดับโลกหลายองค์กรมีการปรับโครงสร้าง และแต่งตั้ง CGO เข้ามาเป็นเสมือนมือขวาของ CEO ในการ Transform ธุรกิจ ความรับผิดชอบของ CGO มีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องนำเอากลไกใหม่เข้ามาใช้ การเกิดขึ้นของ Chief Growth Office ได้กลายเป็นคำตอบให้กับหลายองค์กร โดยมีบทบาทและกรอบความความรับผิดชอบหลักคือ
1. รับผิดชอบด้าน Transformative Growth การสร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ หรือ New Product/ Service Portfolio
2. มีความรับผิดชอบ (Functional Authority) กับหน่วยงานหลักในองค์กร เช่น Marketing & Sales, Technology, R&D, และ Corporate Strategy
3. สนับสนุนงานของ CEO ในการปรับเปลี่ยนและจัดทัพใหม่ในเรื่องการใช้ทรัพยากรขององค์กร เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตในอนาคตและเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการเติบโตแบบ Transformative Growth
4. วางแผนและตัดสินใจลงทุนในธุรกิจที่เป็น Disruptive Innovation การขยับตัวขององค์กรขนาดใหญ่ในการปรับโครงสร้างเพื่อวางรากฐานอนาคตใหม่ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่ายักษ์ที่กำลังถูก Disrupt กำลังมี Learning Curve ของการปรับตัวอย่างรวดเร็ว การพลิกเกมธุรกิจโดยการจัดกระบวนทัพใหม่สู่การ Transform อย่างเต็มรูปแบบ น่าจะเป็นจุดหักเหที่แยกผู้นำเกมธุรกิจออกจากผู้ตามอย่างชัดเจน
เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ