เจาะลึก Headless CMS บริหารทุก Touch Point ในมือ

Headless CMS คืออะไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร เราควรใช้หรือไม่ ลองอ่านบทความนี้ก่อนตัดสินใจ

จริงๆ แล้วคอนเซปต์ของ Headless CMS ไม่ใช่นวัตกรรมที่ใหม่อะไร และมีมาได้สักพักแล้ว ตั้งแต่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นปากว่า IoT (Internet of Things) ไม่ว่าจะเป็น Smart Watches หรือ Wearables ต่างๆ Digital Signage Kiosks VR headsets Smart Speakers และอื่นๆ อีกมากมาย

ทำให้มาร์เกตเตอร์จัดการคอนเทนต์ต่างๆ ในหลากหลายช่องทางการสื่อสารทำได้ยากขึ้น เพราะ Traditional CMS ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับกับสิ่งเหล่านี้ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ Brand หรือ Enterprise Companies ต้องมองหา Solution อย่างเช่น Headless CMS - CMS ที่ “ไม่มีหน้าตา” (heads) ยึดติด หรือมีข้อจำกัด หรือสร้างขึ้นมาเฉพาะเจาะจงกับระบบ front-end อันใดอันหนึ่งเท่านั้น

ข้อดีของ Headless CMS

- Create Once, Publish All — Headless CMS จะสามารถช่วยให้มาร์เกตเตอร์สามารถผลิตคอนเทนต์แค่ครั้งเดียว แต่เผยแพร่คอนเทนต์นั้นไปยัง Touch Point หรือ Device ต่างๆ ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจะแตกต่างจาก Traditional CMS เช่น WordPress หรือ Drupal ที่เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนำเสนอคอนเทนต์ผ่าน Web Browser เป็นหลัก

- Reduced Time to Market — การเผยแพร่คอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ ในแต่ละ Touch Point มาร์เกตเตอร์สามารถย่นระยะเวลาการกระจายคอนเทนต์ได้

- Freely Front-end — การที่ CMS เป็นแบบ Headless ทำให้ส่วนของหน้าบ้านไม่จำเป็นต้องมี Templates หรือ Themes ที่ตายตัว แต่จะใช้เป็น APIs (Application Programming Interfaces) ในการเชื่อมต่อข้อมูลแทน ทำให้หน้าบ้าน Front-end สามารถใช้ Technology อะไรก็ได้เช่น Angular React หรือ Vue

- API-driven Architecture — นอกจากจะทำให้หน้าบ้าน Flexible แล้ว การใช้ API’s ก็ยังทำให้หลังบ้าน Flexible ได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกันเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น Automation E-Commerce หรือ CRM ไปจนถึงระบบที่ใช้ภายในองค์กรเองก็ตาม

- Security — Headless CMS โดยปกติจะส่งข้อมูลผ่านทาง Content Delivery Network (CDN) แทนที่จะส่งตรงจาก Database จึงสามารถลดความเสี่ยงในการโดนจู่โจมในรูปแบบ Distributed Denial-of-Service (DDOS) ได้

ข้อเสียของ Headless CMS

- Unfriendly to Marketers — ด้วยความที่เป็น Headless CMS จึงไม่มีสิ่งที่เรียกว่า WYSIWYG (What You See Is What You Get) เวลา Edit หรือ Preview คอนเทนต์ จึงทำให้มองไม่เห็นภาพจบของคอนเทนต์ในแต่ละ Touch Point จึงเป็นการยากถ้าสิ่งนี้สำคัญกับผู้ใช้งาน ซึ่งก็อาจจะต้องมองให้เป็นในรูปแบบของ Hybrid Headless CMS แทน

- Extra Tools Needed — ถ้ามาร์เกตเตอร์ต้องการที่จะทำให้ Experience ในการสร้างและเผยแพร่คอนเทนต์ดีขึ้น อาจจะต้องมีการหาเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยเพิ่มเติม

- Hidden Costs — การเปลี่ยนจาก Traditional CMS ไปเป็น Headless CMS อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ทราบล่วงหน้า

ควรใช้ Headless CMS หรือไม่?

มาถึงจุดนี้เราก็คงพอจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ  Headless CMS ทั้งข้อดี และข้อเสีย แต่ถ้าจะต้องตัดสินใจว่าเทคโนโลยีนี้คือคำตอบหรือไม่ ก็คงจะต้องโยนคำถามนี้กลับไปให้กับ Brand หรือ Enterprise Companies หรือแม้กระทั้งมาร์เกตเตอร์เองก็ตาม ที่จะต้องชั่งนำ้หนักดูด้วยตัวเองว่าตอบโจทย์ธุรกิจของคุณหรือไม่

Writer
Tumavait Vijakkhana
Director of Design & Technology

As a creative agency, we believe in the power of imagination and innovation. We are constantly pushing the boundaries of what is possible, and strive to create work that is not only beautiful and effective, but also meaningful and impactful.

เริ่มโปรเจคร่วมกัน

contact@neumerlin.com
การใช้เว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณตกลงที่จะจัดเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อปรับปรุง และ วิเคราะห์การใช้งานของเว็บไซต์ ดู นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราสําหรับข้อมูลเพิ่มเติม Privacy Policy