เรียนรู้วิธีสร้างสรรค์ Google Slide ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำตามได้ ให้งานออกมาอย่างสวยงามและดูเป็นมืออาชีพ
Presentation สำคัญอย่างไร
แม้ว่าการนำเสนอด้วยคำพูดจะได้รับการซักซ้อมมาอย่างดี แต่ประสบการณ์ทางภาพที่ไม่ดีก็ทำการนำเสนอไม่มีประสิทธิภาพ จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องเป็นนักออกแบบมืออาชีพ ก็สามารถเรียนรู้วิธีสร้างสรรค์ Google Slide เพื่อการนำเสนอที่ยอดเยี่ยมและน่าสนใจ เพราะมีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติตามเพื่อสร้างเด็คที่ออกแบบอย่างสวยงามและดูเป็นมืออาชีพ
9 เทคนิคทำสไลด์พรีเซนเทชั่นให้ออกมาสวยและดูเป็นมืออาชีพ
1. LAY OUT นั้นสำคัญไฉน
ตามธรรมชาติแล้ว หลาย ๆ ภาษาอ่านจากทางซ้ายมาขวา บนลงล่าง ลำดับการอ่านแบบนี้ ช่วยนำสายตาของผู้คนไปยังส่วนสำคัญของ slide ที่ต้องการเน้นได้เป็นอย่างดี ด้วยการปรับแต่งเลย์เอาต์อย่างง่าย ๆ ใช้ขนาดข้อความและแบบอักษรหรือสีที่สลับกันเพื่อแยกหัวข้อออกจากข้อความเนื้อหา
ตำแหน่งก็มีความสำคัญเช่นกัน มีหลายวิธีในการจัดโครงสร้างสไลด์ แต่ผู้ชมส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาสักนิดหน่อยเพื่อจัดระเบียบข้อมูลในหัว ช่วงนั้นเองที่เค้าจะเริ่มสนใจฟังการนำเสนอของเรา เพราะการไม่เรียงลำดับข้อมูล จะสร้างความสับสนให้ผู้ชม
2. จงอย่าแต่งประโยค
Slide นั้นเป็นการรวมรวมแนวคิดหลัก ไม่ใช่ทั้งหมดทั้งมวลที่เราจะเสนอ เมื่อเราต้องพูดในที่ประชุม ควรนำเสนอข้อมูลส่วนใหญ่ ไม่ใช่วางทั้งหมดบน Slide เพื่อให้ทุกคนอ่าน เพราะเมื่อผู้ฟังเริ่มอ่าน slide นั่นก็หมายความว่าเค้าจะหมดความสนใจในการพูดไปทันที
อย่ายัดเยียดรายละเอียดและแนวคิดมากเกินไปในหนึ่ง Slide จะทำให้ผู้คนเก็บข้อมูลได้ยาก และควรเว้น “ช่องว่าง” ไว้บน Slide จะช่วยให้ผู้คนมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นสำคัญของคุณ เลือกใช้คำหรือใจความหลัก ๆ เท่านั้น หลีกเลี่ยงการแต่งประโยคยืดยาว ยกเว้นแต่ว่าจะมีการอ้างอิงถึงใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง หากมีคำที่เกินหรือตกลงไปบรรทัดล่างแบบไม่ได้ตั้งใจ จงตัดคำเสียใหม่ให้อ่านได้ใจความ อย่าให้ห้อยเป็นติ่งเนื้อร้ายบาดตา
สิ่งสำคัญที่สุดคือการสะกดคำต้องถูกต้อง ทบทวนก่อนนำเสนอ ใน slide มีเครื่องมีอดี ๆ ที่ช่วยตรวจไวยากรณ์ เตือนคำสะกดผิดที่สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ อย่าปล่อยให้อะไร ๆ ผิดพลาดซ้ำ ๆ ลองตรวจสอบเนื้อหาก่อนนำเสนอลงใน slide ด้วยเครื่องมือเหล่านี้
1. ภาษาไทย : https://subsuite.herokuapp.com/
2. ภาษาต่างประเทศ : www.grammarly.com
3. ลองปฏิบัติตามกฎ 6X6 ดู
เพื่อให้เนื้อหากระชับและดูดี กฎ 6×6 หมายถึง "6 คำ / หัวข้อ และ 6 หัวข้อ / สไลด์" ไม่มากไปกว่านี้
และ Slide ไม่ควรมีข้อมูลมากมายเช่นนี้
4. สีสันไม่ต้องมาก
เลือกสีอ่อนและสีเข้มที่เรียบง่าย ข้อความสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อนหรือข้อความสีอ่อนบนพื้นหลังสีเข้มข้อความที่สว่างเป็นพิเศษอาจทำให้ดวงตาเมื่อยล้าได้ ใช้สีเหล่านั้นเท่าที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการไล่ระดับสีที่รุนแรง ซึ่งอาจทำให้อ่านข้อความได้ยาก
หากคุณกำลังนำเสนอในนามของแบรนด์ใดก็ตาม ให้ตรวจสอบแนวทางแบรนด์ก่อน เพราะองค์กรต่าง ๆ มักมีสีแบรนด์หลักและสีรองของแบรนด์ และควรใช้สีเหล่านี้ในการนำเสนอเพื่อให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์และสไตล์ของแบรนด์
5. เรียบแต่ดี เพราะมี Sans-serif
แบบอักษร Sans-serif หรือตัวอักษรแบบไม่มีเชิงจะอ่านง่ายกว่าบนหน้าจอ ลองใช้ Prompt / Montserrat / Poppins ฟอนต์เหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยเสมอ
สิ่งสำคัญในการเลือกใช้ฟอนต์คือ พยายามใช้ฟอนต์เดียวหรือมากที่สุดสองแบบ เลือกใช้ฟอนต์ที่ตรงกับน้ำเสียง วัตถุประสงค์ และเนื้อหาของงานที่จะนำเสนอ แต่ถ้าต้องการเพิ่มลักษณะเฉพาะของตัวพิมพ์ ลองสำรวจบทสรุปของ Shutterstock คุณจะพบทุกอย่างตั้งแต่ Serif คลาสสิกและ Sans-serif ไปจนถึงฟอนต์ที่ทันสมัยและฟอนต์แสดงผลที่กระฉับกระเฉง
6. เล็ก ๆ ไม่ ใหญ่ ๆ สิดีกว่า
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยอมรับว่าขนาดตัวอักษรควรมีอย่างน้อย 30 pt. ไม่เพียงแต่ทำให้แน่ใจว่าข้อความใน slide ของคุณสามารถอ่านได้ไปถึงหลังห้อง แต่ยังบังคับให้คุณใส่เฉพาะประเด็นที่สำคัญที่สุดของข้อความ และอธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด
7. มี Style มากไปก็ไม่ดี
วิธีเพิ่มความน่าสนใจให้กับข้อความสามารถทำได้ทั้ง ตัวหนา ตัวเอียง และ การเปลี่ยนสี แต่เราไม่จำเป็นต้องมีการไล่ระดับสีหรือใช้สีข้อความเกินกว่า 5 สี หรือเล่น Style หลากหลายแบบให้ดูแปลกตาจนมากเกินไป การจัดสไตล์มากเกินไปอาจทำให้ Slide ดูยุ่งและเสียสมาธิ แค่น้อย ๆ เรียบ ๆ ก็ดูดีกว่ากันเยอะ
8. ให้ภาพ (ช่วย) เล่าเรื่อง
ไม่เพียงแค่ข้อความ รูปภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน รูปภาพจะช่วยให้เกิดการจดจำได้ง่ายขึ้น ภาพที่ส่งเสริมข้อความ สามารถดึงดูดใจและสร้างแรงบันดาลใจไปยังผู้ชมให้ได้รับรู้ถึงเป้าหมายและประเด็นที่คุณต้องการนำเสนอ
แนวทางในการเลือกภาพ
1. ดูเป็นภาพประกอบ แต่ไม่ใช่ภาพโดยทั่วไป ภาพที่ตรงกับหัวข้อ อาจจะใช้งานได้ดีแต่ก็เรียบเกินไป ไม่สามารถดึงดูดความสนใจได้
2. ภาพที่สนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่เบี่ยงเบนความสนใจ มีภาพให้เลือกมากมาย แต่ภาพที่ตอบโจทย์จริง ๆ อาจจะมีจำกัด เลือกใช้คำที่เชื่อมโยงในการค้นหาภาพ เพื่อค้นหาภาพที่มาเติมเต็มข้อความมากกว่าเบี่ยงเบนความสนใจ
3. สร้างแรงบันดาลใจและการมีส่วนร่วม การนำเสนองาน ไม่ใช่เพียงการส่งต่อข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการสร้างการเชื่อมต่อไปสู่ผู้ฟัง อาจเกิดการตั้งคำถาม เกิดไอเดียใหม่ ๆ หรือผู้ชมผู้ฟังสามารถจดจำข้อมูลสำคัญแล้วเกิดการนำไปใช้ในภายหลัง สิ่งนี้คือการมีส่วนร่วม ภาพบางภาพอาจทำให้เกิดการคิดต่อและกลายเป็นแรงบันดาลใจของผู้ฟังได้
สิ่งสำคัญคือ การเลือกภาพมาใช้ควรต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพถ่าย แต่ยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและภาพถ่ายมาใช้ได้ฟรี โดยไม่มีลิขสิทธิ์และค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
9. แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
นอกจากการเลือกภาพให้เหมาะกับเนื้อหาแล้ว ใน slide ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานกับรูปภาพให้เลือก ทั้งการปรับตั้งค่าสี เลือก crop เฉพาะบางส่วน เพื่อส่งเสริมให้เนื้อหาน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพต่าง ๆ นั้น เราภาพสามารถเลือกจากภาพที่มีอยู่ในอุปกรณ์ หรือเลือกค้นหาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ลอง “ค้นหาจากเว็บไซต์”
สาระประโยชน์จาก Google Slide
1. เป็นการทำงาน Online ที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบ Real time
2. เปิดและปรับแก้ไขงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจไวยากรณ์ การสะกดคำ ก็ทำได้รวดเร็ว
3. Save ข้อมูลอัตโนมัติ (ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ Google Drive) ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการจัดเก็บ
4. สามารถสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ไม่น่าเบื่อ
5. รองรับ File หลากหลายประเภท
บทสรุป
การนำเสนอ Slide ครั้งต่อไป จะไม่ได้เป็นเพียงแค่การกด slide ผ่านเลยไป ความเรียบง่ายคือกุญแจสำคัญและยิ่งน้อยก็ยิ่งมาก เคล็ดลับการออกแบบที่เรียบง่ายเหล่านี้ จะช่วยสื่อสารข้อความภาพที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพให้กับผู้ชมของคุณได้เป็นอย่างดี
เราคือ Marketing Agency ที่มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทีมงานมืออาชีพ